ข้อดีของการซื้อเพชรมีใบเซอร์
ข้อดี
-
- ลูกค้ามั่นใจได้ว่าเราได้ซื้อเพชรแท้ธรรมชาติ
- ลูกค้ามั่นใจได้ว่าเราซื้อเพชร ได้คุณภาพตามที่ต้องการ และสามารถตรวจสอบได้
- เพชรที่มีใบเซอร์ส่วนใหญ่มีการสลักเลข Report Number หรือ Certificate no. ไว้ที่ขอบเพชร เพื่อที่มั่นใจได้ว่าเพชรเม็ดนี้เป็นเพชรเม็ดเดียวกับที่มีคุณลักษณะ และ คุณภาพบนใบเซอร์นั้นๆ อีกทั้งหลังการซ่อมแซมจิวเวลรี่ ปรับขนาด หรือขัดชุบ ลูกค้าสามารถตรวจสอบสลักเลขเพื่อยืนยันเพชรเม็ดเดิมของเรา
- สามารถเปรียบเทียบความคุ้มค่ากับเพชรเม็ดอื่นได้ที่มีใบเซอร์เหมือนกัน
- ส่งต่อได้สบายใจ หากมีคนมาซื้อเพชรต่อจากเราจะสามารถตรวจสอบข้อมูลได้
รู้ได้อย่างไรว่า ใบเซอร์ที่ได้เป็นใบเซอร์จริง
เพื่อความปลอดภัย และ ยากที่ลอกเลียนแบบ สถาบันอัญมณีศาสตร์ GIA จึงได้ทำเอกลักษณ์เฉพาะไว้ 4 อย่างดังนี้
-
- GIA Report Number เมื่อเพชรที่ได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยสถาบัน GIA จะมีการออกใบรับรองคุณภาพ หรือ ใบเซอร์ โดยระบุเลข Report Number จำนวน 10 หลักไว้ โดยเพชรแต่ละเม็ดจะได้รับเลขที่ไม่เหมือนกัน เราสามารถตรวจสอบรายละเอียดของใบเซอร์ กับ Data base ของ เวปไซด์สถาบัน GIA ผ่าน www.gia.edu/report-check-landing หรือ สแกน QR code ที่อยู่บนใบเซอร์ จากนั้นลองตรวจสอบดูว่า รายละเอียดของเพชรบนหน้าใบเซอร์ กับ GIA Data base ตรงกันหรือไม่
-
- Hologram Logo GIA ตัวโลโก้ของสถาบันที่มีรูปร่างคล้ายพระอาทิตย์ พิมพ์แบบปั๊มนูนด้วยสีทอง จุดสำคัญจะมีลายน้ำบางๆออยู่ภายใน
- Microprint lines จะมีอยู่ทั้ง2หน้า ตรงบริเวณที่บอกรายละเอียดของเพชร เมื่อใช้แว่นขยายส่องจะอ่านได้ว่า GEMOLOGICAL INSTITUTE OF AMERICA เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด
วิธีการอ่านใบเซฮร์ GIA
GIA หรือ Gemological Institute of America เป็นสถาบันศึกษาค้นคว้า และ วิจัยด้านอัญมณีศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ที่ให้บริการการตรวจวัดคุณภาพเพชร และ ออกใบเซอร์การันตี ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และ น่าเชื่อถือที่สุดอีกทั้งยังเป็นเจ้าของหลักการ 4Cs ที่ใช้จำแนกคุณภาพเพชรในระดับสากลอีกด้วย
ใบเซอร์ GIA จะแบ่งเป็น 2 แบบ
-
- GIA Diamond Grading report จะเป็นใบเซอร์แผ่นใหญ่ มี 3 ตอน ที่จะประกอบด้วย การวัดประเมินคุณภาพ 4cs – สี ความสะอาด น้ำหนัก การเจียระไน และ ภาพแสดงสัดส่วนและรูปทรงของเพชร เหมือนกับ Dossier ใบเซอร์แผ่นเล็ก แต่เพิ่มเติมด้วยภาพที่ระบุตำแหน่งของตำหนิภายในเนื้อเพชร (a plotted diagram of clarity characteristics ) ใบเซอร์ชนิดนี้ส่วนใหญ่จะพบได้กับเพชรที่มีน้ำหนัก 1 กระรัต ขึ้นไป
- GIA Diamond Dossier® จะเป็นใบเซอร์แผ่นเล็ก มี 2 ตอน ประกอบไปด้วย การวัดประเมินคุณภาพ 4cs – สี ความสะอาด น้ำหนัก การเจียระไน และ ภาพแสดงสัดส่วนและรูปทรงของเพชร เพชรที่มีน้ำหนัก 0.15 -1.99 กระรัต สามารถเข้ารับการวัดประเมินคุณภาพและได้รับใบเซอร์รูปแบบ Dossier
วิธีการอ่านใบเซฮร์ GIA
May 25, 2020 คือ วันที่ออกใบเซอร์เพชร
GIA Report Number เลขรหัสใบเซอร์ GIA 10 หลัก ที่จะต้องตรงกับเลขรหัสที่สลักขอบเพชร อีกทั้งเลขรหัสใบเซอร์นี้สามารถนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูล GIA report Database ดูข้อมูลายละเอียดตรงกันเพื่อยืนยันเป็นใบเซอร์จริง
Shape and Cutting Style รูปทรงของเพชร ว่าได้รับการเจียระไนเป็นรูปทรงใด เช่น เพชรกลม ,เพชรหัวใจ,เพชรหยดน้ำ เป็นต้น
Measurements สัดส่วนของเม็ดเพชร หน้ากว้างที่น้อยที่สุด – หน้ากว้างที่มากที่สุด X ความสูงของเพชร
[su_spacer]
การวัดประเมินคุณภาพตามหลัก 4Cs
Carat Weight น้ำหนักเพชร (หน่วย carat หรือ กระรัต )
Color Grade ระดับสีของเพชร หรือ ความขาวของเพชร โดยจะแบ่งเป็นตั้งแต่ D – Z โดย D colour เป็นสีที่ขาวที่สุด หรือ เพชรไม่มีสี ที่คนไทยเรียกเพชรน้ำ 100 ถึงแม้ระดับสีจะแบ่งได้มากถึง Z colour ก็ตาม แต่สำหรับประเทศไทยนิยมเพชรที่มีความขาวในระดับสูงเพื่อความสวยงาม ดังนั้นเพชรส่วนใหญ่จะพบในระดับสี D colour หรือ น้ำ 100 ที่อยู่ในโซนไม่มีสี ( colorless ) ถึง N color หรือ น้ำ 90 ที่อยู่ในโซนสีเหลืองอ่อนมาก ( very light ) เพื่อความเข้าใจที่ลึกซึ้งในเรื่องระดับสีของเพชร สามารถอ่านได้เพิ่มเติมในหัวข้อ การวัดประเมินคุณภาพตามหลัก 4Cs คะ
Clarity Grade ระดับความสะอาดของเพชร โดยจะเป็นการวัดประเมินถึงมลทินภายในเนื้อเพชร และ รอยขูดขีดที่พื้นผิวของเพชรด้วยมาตรฐานกล้องระดับ 10X โดยแบ่งระดับดังนี้
-
- Flawless เพชรที่มีความสะอาดที่สุด ปราศจากมลทินภายใน และ ไม่มีรอยขูดขีดที่ผิวของเพชร
- Internally Flawless เพชรที่ไม่มีปราศจากมลทินภายใน แต่มีรอยขูดที่พื้นผิวของเพชรเล็กน้อย
- VVS1 และ VVS2 ( Very Very Slightly Included ) เพชรที่มีมลทินที่เล็กที่สุด ยากแก่การมองเห็น
- VS1 และ VS2 ( Very Slightly Included ) เพชรที่มีมลทินที่เล็ก ยากแก่การมองเห็น
- SI1 และ SI2 (Slightly Included ) เพชรที่มีมลทินที่สามารถสังเกตได้ อาจจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
- I1 ,I2 และ I3 ( Included ) เพชรที่มลทินขนาดใหญ่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
Cut Grade คุณภาพของการเจียระไนที่ส่งผลให้เพชรเล่นไฟสวยงาม ,อัตราส่วนน้ำหนักเพชรที่ถูกต้อง, ความสมบูรณ์แบบของการเจียระไน และ ความทนทานเมื่อใช้งาน โดยแบ่งเป็น 5 ระดับ
-
- Excellent คุณภาพดีเยี่ยม
- Very good คุณภาพดีมาก
- Good คุณภาพดี
- Fair คุณภาพพอใช้ได้
- Poor คุณภาพต่ำ
[su_spacer]
Additional Grading Information การวัดประเมินคุณภาพเพิ่มเติม
Polish คุณภาพของพื้นผิวภายนอกของเพชรหลังจากการเจียระไน พื้นผิวเพชรที่มีความเรียบเงาใสย่อมช่วยกระจายแสงได้ดีกว่า ตำหนิที่พื้นผิวภายนอกของเพชรที่เกิดหลังการเจียระไน ตัวอย่างเช่นมีรอยเขม่าไฟ (Burn)ที่เกิดจากการเจียระไนที่ไม่ดี หรือ รอยกระเทาะเกิดในระหว่างขบวนการเจียระไน (Nick) เป็นต้น โดยแบ่งคุณภาพเป็น 5 ระดับ
-
- Excellent คุณภาพดีเยี่ยม
- Very good คุณภาพดีมาก
- Good คุณภาพดี
- Fair คุณภาพพอใช้ได้
- Poor คุณภาพต่ำ
Symmetry ความสมมาตรของเพชร เป็นการวัดประเมินความสมบูรณ์ถูกต้องของรูปทรงเพชร รวมถึงตำแหน่งของแต่ละเหลี่ยมของเพชรด้วย ซึ่งเพชรที่มีความสมมตรจะทำให้เกิดการเล่นไฟที่ดี เมื่อแสงเดินทางเข้าไปในเพชร จะตกกระทบตามเหลี่ยมต่างๆและออกไปในองศาที่ถูกต้องทำให้เกิดการเล่นไฟสูงสุด โดยแบ่งคุณภาพเป็น 5 ระดับ
-
- Excellent คุณภาพดีเยี่ยม
- Very good คุณภาพดีมาก
- Good คุณภาพดี
- Fair คุณภาพพอใช้ได้
- Poor คุณภาพต่ำ
Fluorescence เป็นการตรวจ และ วัดระดับความสามารถที่เพชรเรืองแสงออกมา เมื่อแสง Utraviolet (UV) มาตกกระทบ ส่วนใหญ่จะเป็นสีน้ำเงิน และสามารถพบเห็นเป็นสีอื่นได้ เช่น สีเหลือง, สีขาว และ สีส้ม โดยเพชรที่มีคุณสมบัติเกิดปฏิกิริยา Fluorescence จะมีเนื้อสีเพชรไม่ใส เนื้อเพชรสีขาวแต่มีความขุ่น หรือ เนื้อเพชรดูมีความมัน ที่มีผลกระทบต่อรูปลักษณ์และการเล่นไฟของเพชร โดยแบ่งระดับความสามารถ Fluorescence ของเพชร ไว้ดังนี้
-
- None ไม่มีปฏิกิริยา Fluorescence
- Faint มีปฏิกิริยา Fluorescence เรืองแสงสีน้ำฟ้าอ่อน
- Medium Blue มีปฏิกิริยาFluorescence เรืองแสงสีฟ้ากลางๆ
- Strong blue มีปฏิกิริยา Fluorescence เรืองแสงสีฟ้ารุนแรง
- Very strong blue มีปฏิกิริยา Fluorescence เรืองแสงสีฟ้ารุนแรงมาก